หากธุรกิจของคุณเริ่มมีรายได้และผลกำไรสูง ควรมีการจดทะเบียนบริษัทเกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่า ต้องมีรายได้เท่าไหร่ ถึงควร จดทะเบียนบริษัท ? วันนี้ นรินทร์ทอง ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทมาฝากทุกคนในบทความนี้!
อยากรู้รายละเอียดการ จดทะเบียนบริษัท เพิ่มเติม
คลิกที่นี่เมื่อไรควร จดทะเบียนบริษัท
หากกิจการของคุณเริ่มมีเงินได้สุทธิ (รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย) มากกว่า 750,000 บาทขึ้นไป ควรจดทะเบียนบริษัททันที
รายได้ และ อัตราภาษี
การจดทะเบียนบริษัทควรเริ่มทำเมื่อเจ้าของธุรกิจมีเงินได้สุทธิ (รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย) 750,000 บาทขึ้นไป ถ้าคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้สุทธิมากเท่านี้ จะเสียภาษีถึง 35% แต่ถ้าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะเสียภาษีเงินได้เพียง 20%
เรียนรู้การคำนวณรายได้ และอัตราภาษีเพิ่มเติม
คลิกที่นี่ตัวอย่างการคำนวณรายได้ และ อัตราภาษี แบบนิติบุคคล กับ แบบบุคคลธรรมดา
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล มีสูตรการคำนวณ คือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ จากนั้นนำกำไรสุทธิที่ได้ มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (ทั้งนี้ถ้าหากมีได้กำไร 0 - 300,000 จะได้รับการยกเว้นภาษี 15%)
ยกตัวอย่าง: หากรายได้ทั้งปีมีจำนวน 2,225,000 บาท จะมีวิธีการคำนวณภาษี ดังนี้
Step 1: รายได้ขายสินค้า 2,225,000 - รายจ่าย 1,900,000 บาท = กำไรทางบัญชี 325,000 บาท
Step 2: กำไรทางบัญชี 325,000 บาท - รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 325,000 บาท
Step 3: กำไรทางบัญชี 325,000 บาท - 3 ล้าน = ภาษีที่ต้องชำระ 3,750 บาท
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีวิธีการคำนวณโดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย หากมีรายได้ประจำช่องทางเดียว อัตราภาษีจะเป็นแบบอัตราขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35%
แบบที่ 2 (รายได้ทุกประเภท - เงินเดือน) x 0.5% ในกรณีที่มีรายได้ช่องทางอื่น นอกจากรายได้ประจำหรือเงินเดือนตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป คิดภาษีแบบเหมา
โดยจะต้องคำนวณภาษีทั้งแบบอัตราขั้นบันได และอัตราเหมา เพื่อนำมาเทียบกันแล้วเลือกยอดภาษีที่ต้องเสีย โดยคิดจากยอดภาษีที่สูงกว่า
หมายเหตุ: หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้
ยกตัวอย่าง: หากรายได้ทั้งปีมีจำนวน 2,225,000 บาท เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบขั้นบันได จะมีวิธีการคำนวณภาษี ดังนี้
Step 1: รายได้ขายสินค้า 2,225,000 - รายจ่าย 1,900,000 บาท - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ
Step 2: เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีขั้นบันได 30% (รายได้ 2M - 5M ขั้นบันได 30%) = ภาษีที่ต้องจ่าย
ค่าใช้จ่าย และความรับผิดชอบที่มากขึ้น หลัง จดทะเบียนบริษัท
- การเทียบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำบัญชี
หากต้องการเทียบค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี ต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดเท่าไหร่ในช่วง 5%-35% จากนั้นนำมาเทียบกับค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี
1. ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่กิจการให้ลูกค้า)
2. ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่ได้รับจากคู่ค้า)
3. Bank Statement หรือสมุดบัญชีธนาคาร
4. รายงานสรุปการจ่ายเงินเดือนพนักงาน (กรณีมีพนักงาน)
5. การใช้บริการจ่ายค่าเช่าจากบริษัท / บุคคลอื่น
6. เอกสารสัญญาทุกชนิด
7. รายงานสินค้าคงเหลือ
ข้อดีของการ จดทะเบียนบริษัท รู้ก่อนไม่มีพลาด!
- จ่ายภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา
- ปีไหนธุรกิจขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี
หลังจากที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้ว เจ้าของธุรกิจอย่าลืมที่จะให้ความสำคัญกับการทำบัญชีและภาษี โดยพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ เราขอแนะนำ
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ