ยาคูลท์ ต่างจาก
บีทาเก้น ยังไง ในที่สุดก็ได้รู้ความแตกต่าง
เรียกว่าเป็นนมเปรี้ยวที่ครองใจคนไทยมานานแสนนานเลยก็ว่าได้สำหรับ ยาคูลท์ และ บีทาเก้น ที่ดื่มแล้ว
ดีต่อสุขภาพ ซึ่งทั้ง
สองแบรนด์นั้นก็เรียกได้ว่า
มีความโดดเด่นและ
รสชาติที่อร่อยไม่แพ้กัน
หลายๆ คนอาจจะสงสัยกันว่า จริงๆ แล้ว ยาคูลท์ ต่างจาก บีทาเก้น ยังไง เพราะทั้งคู่เป็น
นมเปรี้ยวเหมือนกัน แถม
รูปทรงขวดก็คล้ายๆ กันด้วย วันนี้เราได้ไปหาคำตอบมาไขข้อสงสัยให้กับเพื่อนๆ กันแล้ว
เฉลยแล้ว
ยาคูลท์ ต่างจาก
บีทาเก้น ยังไง ในที่สุดก็ได้รู้ความแตกต่าง
ยาคูลท์ ต่างจาก บีทาเก้น ตรงสูตรจุลินทรีย์ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ โดย ยาคูลท์ จะใช้จุลินทรีย์ ที่ชื่อว่า
จุลินทรีย์ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า ส่วน บีทาเก้น จะใช้จุลินทรีย์ ที่ชื่อว่า จุลินทรีย์
โพรไบโอติกยาคูลท์จุลินทรีย์ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า 8,000 ล้านตัว ต่อ 80 มล.
เมื่อได้รับ
จุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสจากยาคูลท์ จะส่งผลให้จำนวนของแบคทีเรียดีภายในลำไส้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า และลดจำนวนแบคทีเรียที่มีโทษต่อร่างกายลงเหลือเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ซึ่งผลที่ได้รับคือ
ระบบขับถ่ายจะทำงานได้ดีขึ้น เห็นผลชัดเจนทั้งกลุ่มคนที่ท้องเสียและท้องผูก อีกทั้งยังช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย นอกจากนั้น แลคโตบาซิลลัส แอล. คาเซอิ ชิโรต้า นั้นถูกตั้งชื่อตาม ดร.มิโนรุ ชิโรตะ ผู้คิดค้นจุลินทรีย์สายพันธุ์หนึ่งในลำไส้ที่มีประโยชน์กับมนุษย์ได้เป็นคนแรก โดยได้ตั้งชื่อว่า "แลคโตบาซิลลัสคาเซอิสายพันธุ์ชิโรต้า"
บีทาเก้นจุลินทรีย์ โพรไบโอติก อย่างน้อย 9,000 ล้านตัว ต่อ 85 มล.
จุลินทรีย์
โพรไบโอติกในบีทาเก้นนั้นสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารจึงทำให้สามารถมีชีวิตรอดไปยึดเกาะกับผนังลำไส้ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยให้ระบบย่อยและการขับถ่ายของผู้บริโภคดีขึ้น นอกจากนี้แล้วจุลินทรีย์โพรไบโอติกในบีทาเก้นยังสามารถป้องกันและกำจัดแบคทีเรียร้ายในลำไส้ของ
ผู้บริโภคได้อีกด้วย
Tags :
อลิส88