พัฒนาทักษะการใช้งานรถเข็นผู้ป่วย เพื่อการดูแลอย่างปลอดภัย

  • 0 Replies
  • 2113 Views
เป็นอีกสิ่งที่ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยมีรถเข็นจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างดี อย่างละเอียดมากที่สุด เพื่อให้การเข็นผ่านไปได้ราบรื่น มีความปลอดภัยไม่เป็นอุปสรรคหรือปัญหาตามมาได้ แต่จะเป็นการใช้งานรถเข็นผู้ป่วยอย่างไรบ้าง? เอาเป็นว่าเราไปติดตามทักษะการใช้งานเลยดีกว่า



การใช้งานรถเข็นผู้ป่วยที่ถูกต้อง ทักษะที่ผู้ดูแลมองข้ามไม่ได้

จริง ๆ แล้วการใช้งานวีลแชร์จะให้ดีที่สุดต้องเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกที่เหมาะสมกับการดูแล การออกแบบก็จะอาศัยอยู่ในมุมมองของเราส่วนใหญ่ เช่น รถที่ไม่ต้องก้มเวลาเบรก ตำแหน่งมือจะช่วยประหยัดแรงและทำให้การเข็นง่ายมากขึ้น ยิ่งได้ทักษะที่ดีก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกผู้ดูแลได้ดีไปอีก

- วิธีการเข็น : เมื่อเข็นรถต้องทำให้เอวตั้งตรง
- เมื่อขึ้นลงรถเข็น : ก็ต้องมีการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งการขึ้นและลง จำเป็นต้องเอาที่พักเท้าออก หรือหมุนขึ้น ทั้งนี้ ช่วยลดความเสี่ยงผู้ป่วยลื่น และยังช่วยลดระยะห่างของรถเข็นลงไปได้ยิ่งขึ้น ลดภาระที่จะเกิดในช่วงเอวด้วย
- การขึ้นลงที่พื้นหรือทางต่างระดับ : ช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับพื้นที่ยกสูงต่างระดับ จะต้องใช้แท่นเหยียบข้ามพื้นเพื่อประกอบการใช้งาน จะทำให้เลี่ยงข้อมือได้รับการบาดเจ็บ ไม่ทำให้ออกแรงยกมากเกินไปกับตัวรถ ซึ่งน้ำหนักผู้ป่วยบางคนอาจจะมีเยอะทำให้เราต้องใช้แรงมากตามนั่นเอง
- การเคลื่อนย้ายรถเข็น : ที่จะต้องยกรถทั้งคัน อย่าง การนำรถใส่ที่ท้ายรถ ก็ควรเป็นรถที่สามารถพับได้เพื่อให้พับเก็บง่าย หรือสามารถถอดบางชิ้นส่วนออกได้ เพื่อลดน้ำหนักโดยรวมออก ช่วยในการยกย้ายได้ดี

เพิ่มเติมความสะดวกอีกขั้นด้วยการใช้งานแบบไฟฟ้า

แต่กระนั้นในการใช้งานรถเข็นสำหรับผู้ป่วยจริง ๆ ก็ยังมีที่สะดวกสบายมากขึ้น อย่างการเลือกใช้งานเป็นรถเข็นไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนย้ายทั้งรถและผู้ป่วยที่บางยี่ห้อก็สามารถบังคับเองได้ด้วยผู้ป่วย หรือเราเองก็บังคับได้ง่าย สามารถพับ หรือถอดชิ้นส่วนได้ตามต้องการ ทำให้การใช้งานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นทั้งตัวเราในฐานะคนดูแล และผู้ป่วยที่จะสร้างความรู้สึกว่าไม่ทำให้ใครต้องลำบาก แต่ก็ต้องรู้ว่าราคาวีลแชร์ไฟฟ้าก็จะค่อนข้างสูงหากใครสะดวกแบบไหนก็ลองซื้อแล้วใช้งานตามทักษะที่เราแนะนำไปดูได้

รถเข็นผู้ป่วยนับว่าเป็นอีกตัวช่วยสำคัญที่จะมาทำให้การเคลื่อนย้ายกลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น แต่หากจะไม่มีผู้ดูแลเลยก็คงจะไม่ใช่เรื่องดี ทว่าแม่จะมีผู้ดูแลก็ต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจในการใช้งาน เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยที่มีทั้งต่อผู้ดูแลและผู้ป่วยนั่นเอง และหากจะให้สะดวกสบายแน่นอนว่ารูปแบบไฟฟ้าก็เป็นอีกทางเลือกที่ค่อนข้างน่าสนใจ