การหาความสูญเปล่าด้านการขนส่ง วิทยากร: อาจารย์ณรงค์ ตู้ทองที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ (LEAN (Supply Chain, Manufacturing, Logistics)TPM,TQM, QCC , 5S , Kaizen ,Suggestion), ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำรุงรักษา
และการขับขี่รถยกอุตสาหกรรม (Forklift), ได้รับการรับรองสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, ได้รับการรับรองเป็นผู้ช่วยผู้ชำนาญ
การตรวจสอบการจัดการพลังงาน กระทรวงพลังงาน รวมประสบการณ์กว่า 25 ปี
หลักการและเหตุผล ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวน และสภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เราจะยังคงรักษา และเพิ่มความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ที่มีอยู่ไว้ได้อย่างไร ? เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องร่วมด้วยช่วยกันที่จะผลักดันไปให้สู่เป้าหมายผลกำไรที่ตั้งไว้ ดังนั้น เราต้องมีความเข้าใจในเรื่องของความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการธุรกิจ เพื่อที่จะได้ค้นหาวิธีการในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้หมดไปเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แนวคิดในการหาความสูญเปล่าด้านการขนส่ง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แนวคิดในเรื่องความสูญเปล่าในกระบวนการธุรกิจการขนส่ง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการธุรกิจการขนส่ง
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม1. สำรวจตัวเองในความเข้าใจแนวคิดเรื่องความสูญเปล่าด้าน
การขนส่ง2. ความหมายของคำว่า ความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss) 3. ประเภทต่าง ๆ ของ ความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss) 4. หลุมพรางทางความคิดในเรื่องการลดความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss) 5. ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) 6. ทำความเข้าใจ Waste กับ Loss ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวน
การขนส่ง 7. การค้นหา Waste กับ Loss ที่เกิดขึ้นในกระบวนการอย่างเป็นระบบ
- 8 ความสูญเปล่า(Wastes)
- 6 ความสูญเสีย(Six Major Losses)
8. เทคนิคและเครื่องมือในการการลดความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss)
9. Workshop : การหาความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss) เกิดขึ้นในกระบวนการขนส่ง
10. Workshop : การใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดการลดความสูญเปล่า(Waste) กับ ความสูญเสีย(Loss) ที่เกิดขึ้น
แนวทางการฝึกอบรม โดยการใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้สำรวจตัวเอง และเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจสภาวะที่เกิดขึ้น
โดยการใช้กระบวนการคิด (Thinking Process) เพื่อให้ผู้เรียนคิดหาทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเอง
โดยการใช้ Workshop เพื่อให้เกิดการนำความรู้ที่ได้รับไปฝึกฝนในทางปฏิบัติ
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้หัวหน้างาน และผู้จัดการขึ้นไป หากพิจารณาสมการ กำไร = ยอดขาย – ต้นทุน เราสามารถเพิ่มผลกำไรได้ 2 แนวทางด้วยกัน คือ
1. เพิ่มยอดขาย
2. ลดต้นทุน การเพิ่มยอดขาย เป็นภาวะที่มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การลดต้นทุน เป็นปัจจัยภายในที่เราสามารถควบคุมได้โดยตรง เพียงแต่เราต้องมีความเข้าใจในเรื่องของความสูญเสีย และความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการธุรกิจ เพื่อที่จะได้ค้นหาวิธีการในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย และความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นให้หมดไป
2 การลดต้นทุนด้านการขนส่ง
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ