การบำรุงรักษาตามแผนงาน
(Planned Maintenance)
วิทยากร: อาจารย์อนันต์ ดีโรจนวงศ์
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้าน Lean Production & Logistic กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและ Logistics & Supply Chain Management สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น ม.ศรีปทุม, ม.ธุรกิจบัณฑิต
ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์ โครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567
อบรมผ่านออนไลน์
หลักการและเหตุผล
กิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งมีแนวคิดในการสร้างระบบบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenanceใน แบบตลอดช่วงอายุของเครื่องจักร การบำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance) จำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กับ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) พนักงานที่ควบคุมเครื่องจักร จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ถึงสิ่งผิดปกติของเครื่องจักรได้มากที่สุด ดังนั้นจุดตรวจสอบเครื่องจักรภายนอก จะถูกมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของพนักงานที่ควบคุมเครื่องจักร เพื่อให้มีการตรวจสอบและสามารถจับสิ่งผิดปกติ ก่อนที่เครื่องจักรเกิดความเสียหายกะทันหัน (Breakdown Maintenance) รวมไปถึงการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) และการบำรุงรักษาตามเงื่อนไข (Condition Base Maintenance)ที่สามารถบ่งบอกช่วงเวลาหรือเงื่อนไขต่าง ๆที่สำคัญในการวางแผนการบำรุงรักษาที่ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักการและความสำคัญของการ บำรุงรักษาตามแผนงาน(Planned Maintenance) สามารถสร้างกำหนดแผนงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อป้องกันเครื่องจักรหยุดเดินกะทันหัน (Breakdown maintenance)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าใจการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) กลับไปประยุกต์ใช้ได้ในองค์กรได้
3. ความสัมพันธ์ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)กับการบำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance)
4. เพื่อลดเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักรการผลิต (Machine Downtime or Breakdown)
5. เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างได้ผล
6. เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและลดของเสียลงได้
หัวข้ออบรม
1. ความเป็นมาและแนวคิดของระบบการบำรุงรักษาตามแผนงาน
2. ความสำคัญของระบบการบำรุงรักษาตามแผนงาน
3. โครงสร้างและหน้าที่ของการบำรุงรักษาตามแผนงาน
4. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการบำรุงรักษา MTBF , MTTR
5. การตั้งเป้าหมายการบำรุงรักษาตามแผนงาน
6. 6 ขั้นตอนการทำ Planned Maintenance
7. ประเมินสภาพเครื่องจักรและสำรวจสภาพปัจจุบัน
8. ฟื้นฟูสภาพเสื่อมและปรับปรุงจุดอ่อนของเครื่องจักร
9. การบริหารข้อมูลการบำรุงรักษา
10. การบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance : TBM)
11. การบำรุงรักษาตามเงื่อนไข (Condition base maintenance : CBM)
12. ประเมินผลการบำรุงรักษาตามแผน
รูปแบบการฝึกอบรม การบรรยาย, ให้คำปรึกษา แนะนำ, ตอบคำถาม, Workshop (Option)
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง/ ผู้บริหารระดับสูง-กลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝายซ่อมบำรุงเครื่องจักร ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประกาศนียบัตร: บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด